การบวกแขนงไม้จำนวน

อุปกรณ์                                 

  • แขนงไม้จำนวน  2  ชุด
  • กระดาษเปล่าและดินสอ  1 แท่ง
  • บัตรสัญลักษณ์การบวก (ถ้ามี)

จุดประสงค์                                           

  • เพื่อแนะนำให้เด็กรู้จักการบวกจำนวนตั้งแต่ 1 – 10
  • เพื่อสอนให้เด็กรู้จักการเขียนประโยคสัญญลักษณ์การ บวกตั้งแต่ 1- 10
  • เพื่อให้เด็กได้เห็นผลลัพท์ของการบวกอย่างเป็นรูปธรรม        

กลไกควบคุมการผิดพลาด                  

                  แขนงไม้จะเป็นตัวควบคุมความผิดพลาด เพราะแขนงไม้แต่ละอันจะมีความยาวที่แตกต่างและแทนจำนวนที่แน่นอนอยู่แล้ว

คำศัพท์ที่ใช้

                 บวก  เท่ากับ

ระดับอายุ                                              

                   4 – 4 ½ ปีขึ้นไป

ข้อเสนอแนะ                                          

กิจกรรมนี้สามารถทำบนโต๊ะถ้าใช้แขนงไม้จำนวนขนาดเล็ก แต่ถ้าใช้แขนงไม้จำนวนขนาดใหญ่ควรทำบนพื้น ครูให้เด็กนำแขนงไม้จำนวนทั้งสองชุดมาสร้างเป็นขั้นบันไดก่อน

add-with-num-rod

               ครูนำแขนงไม้จำนวน 6 จากบันไดทางซ้ายมือมาวางไว้ด้านล่าง ระหว่างบันไดทั้งสอง จากนั้นนำแขนงไม้จำนวน 2 จากบันไดทางขวา และแขนงไม้จำนวน 4 จากบันไดด้านซ้ายมาวางต่อกันไว้ด้านล่างแขนงไม้จำนวน 6 เสร็จแล้วให้ครูนับ สอง และหนึ่ง สอง สาม สี่ พร้อมกับชี้ไปด้วย ว่าเท่ากันกับ หก จากนั้นให้ครูทำใหม่อีกครั้ง โดยให้วางแขนงไม้จำนวน 4 ไว้ด้านหน้าแล้วนำแขนงไม้จำนวน 2 ต่อไว้ด้านหลัง ซึ่งจะทำให้เด็กเข้าใจว่า 2 กับ 4 รวมกันได้ 6 เช่นเดียวกับ 4 รวมกับ 2 เมื่อเด็กเข้าใจแล้วให้แนะนำวิธีการเขียนประโยคสัญลักษณ์ ดังนี้

               2 + 4 = 6

               4 + 2 = 6

จากนั้นลองแนะนำการรวมจำนวนอื่นๆ ให้ได้เป็นจำนวนที่ไม่เกินสิบ

แบบฝึกหัด                                            

               ให้เด็กลองนำแขนงไม้จำนวนขนาดเล็กมากิจกรรมตามที่ได้รับการแนะนำ พร้อมกับฝึกการเขียนประโยคสัญลักษณ์ลงในกระดาษเปล่า แขนงไม้จำนวนขนาดเล็ก                  
               ควรจำไว้เสมอว่าการเรียนรู้การบวกนั้น  ควรเริ่มจากการบวกจำนวนที่ไม่เกินสิบก่อน และในขณะนี้ก็สามารถนำแขนงไม้จำนวนมาใช้ได้  ในตอนเริ่มต้นของการเรียนอนุบาลเพื่อให้เด็กได้เรียนรู้การแบงปันและการรอคอย (เช่น รู้จักการรอคอยสื่อที่ต้องการเมื่อคนอื่นกำลังใช้อยู่)  ภายในห้องเรียนของมอนเตสซอรี่จึงจัดอุปกรณ์แต่ละชนิดไว้เพียงอย่างละชุดเท่านั้น แต่ในขณะนี้ซึ่งอุปกรณ์ต่างๆได้ถูกนำมาปรับใช้กับการเรียนรู้เกี่ยวกับตัวเลข ควรจัดให้มีสื่ออุปกรณ์อย่างเพียงพอ เพื่อไม่ให้กระบวนการพัฒนาของเด็กไม่ต่อเนื่อง  เพราะเป็นการรอคอยที่ไม่จำเป็น และในกิจกรรมบางอย่างเองก็อาจต้องใช้อุปกรณ์มากกว่าหนึ่งชุด เช่นกิจกรรมการบวกที่แนะนำนี้ต้องใช้แขนงไม้จำนวนถึงสองชุด  ดังนั้นเพื่อความเหมาะสมกับกิจกรรมและพื้นที่จึงควรให้เด็กใช้แขนงไม้จำนวนขนาดเล็ก